นายสุขสันต์ ไชยรักษา รหัส 5681114011
หลักสูตรภาษาอังกฤษ 01 ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา
คำสั่ง ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในบล็อกของนักศึกษา
(เวลา 8.00-11.30 น)
1. ให้นักศึกษาอธิบาย
คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย
เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ
กฎหมาย คือ เป็นข้อบังคับใช้บังคับมนุษย์ที่อยู่ในประเทศนั้นๆ ซึ่งมีสภาพบังคับ หากผู้ใดฝ่าฝืนที่มีการลงโทษ
จารีตประเพณี
คือ ระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา
ศีลธรรม คือ การกระทำหรือความประพฤติที่ดีงามของมนุษย์
ความเหมือน:
จารีตประเพณี และกฎหมาย ถ้าสิ่งใดไม่ถูกต้อง หากผู้ใดฝ่าฝืนผู้นั้นก็ย่อมต้องถูกลงโทษ
ศีลธรรม จารีตประเพณี
เหมือนกันตรงที่เป็นคุณงามความดี เป็นการประพฤติของมนุษย์ในสิ่งที่ดีงาม
ความแตกต่าง:
จารีตประเพณี และกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนที่สุด
กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
เพราะกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์กำหนดความประพฤติของมุนษย์
ซึ่งเป็นเรื่องของการกระทำภายนอกเท่านั้น ในขณะที่ศีลธรรมอยู่ภายในจิตใจ เป็นเรื่องความมีจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์
ส่วนจารีตประเพณี ศีลธรรม
จะต่างกันตรงที่ จารีตประเพณีเป็นระเบียบแบบแผนความประพฤติที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา
ส่วนศีลธรรมเป็นความประพฤติที่ดีงามที่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ ยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน
ไม่เหมือนข้อบังคับของกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนของจารีตประเพณี ว่าจะมีแบบแผนหรือโครงสร้างอย่างไร
2.
คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร
มีการจัดอย่างไร โปรดยกตัวอย่าง
รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่งคสช.
พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5
คะแนน)
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน
ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า
จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้
การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy
of laws) พอที่จะสรุปได้ดังนี้
1.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือคำสั่งคสช. หรือคำสั่งคณะปฏิวัติ
2.
พระราชบัญญัติ
3.
พระราชกำหนด
4.
พระบรมราชโองการ
5.
พระราชกฤษฎีกา
6.
กฎกระทรวง
7.
เทศบัญญัติ
3.
แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ
"กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง
ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ
โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย
6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา
สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา
เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี
น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ
หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย
โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป"
จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้
ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ
หมวด ๖ วินัยและการรักษาวินัย พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓
จากข่าวข้างต้น ครูทำร้ายเด็กเกินกว่าเหตุผลที่เป็นอยู่
เด็กนักเรียนแค่ 6 ขวบ ควรสั่งสอนให้อ่านให้ออก หรืออย่างมากแค่ควรตักเตือนเท่านั้นเป็นพอ
ปัญหาของเด็กนักเรียนมาได้ร้ายแรงขนาดนั้น อีกอย่างจิตใจของเด็กจะเสียหาย ซึ่งรักษาได้ยากกว่าแผลที่แผ่นหลังของเด็กนักเรียนคนนั้นอีก
ซึ่งครูแบบนี้เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่คนอื่นๆ จะโทษแต่ครูก็ไม่ได้
หากพ่อแม่ไม่ให้ความร่วมมือ ควรสั่งสอนลูกให้มีความตื่นตัวในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาด้วย
มาตรา ๘๘ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่
ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียน
และระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก
ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ การกลั่นแกล้ง ดูหมิ่น
เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงผู้เรียน หรือประชาชนผู้มาติดต่อ ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
4.
ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ
ข้าพเจ้าได้วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคของตนเองต่อวิชาที่เรียนตามแนวคิดของ SWOT
ได้ดังนี้
จุดแข็ง
(S:
Strengths)
1.
มีความรับผิดตามงานที่อาจารย์สั่งและได้รับมอบหมายมา
2.
จัดตารางสอนก่อนมาเรียนทุกครั้ง
3.
มีการอภิปรายเกี่ยวกับวิชาที่ศึกษาในชั้นเรียน เพื่อหามุมมองใหม่ๆ
4.
สมองปลอดโปร่ง คิดตามที่อาจารย์พูด
5.
มาเรียนตรงเวลา
6.
สามารถตีโจทย์แตก แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
จุดอ่อน
(W:
Weaknesses)
1.
มีความสะเพร่า
2.
บางครั้งเห็นแก่ความคิดของตนเองมากเกินไป
3.
ไม่ค่อยทบทวนบทเรียน ส่งผลให้จำไม่ได้ ลืม
4.
ไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหาวิชาเรียน
เพราะไม่ขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียน
5.
ไม่อ่านหนังสือเป็นจริงเป็นจริง เลยเรียนไม่ค่อยเก่ง
6.
ไม่มีความมั่นใจเลยไม่เด็ดขาดในหลายๆ เรื่อง
7.
มีความขี้เกียจ ดินพอกหางหมู
โอกาส
(O:
Opportunities)
1.
เคยทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้
2.
เรียนแล้วสามารถนำความรู้มาต่อยอดต่อไป พัฒนาตนเองได้
3.
อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน เน้นย้ำ และสั่งสอนสิ่งที่สำคัญอยู่เสมอๆ
4.
การเรียนรายวิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษา (1066302)
สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต
5.
เวลาไม่เข้าใจจะสอบถามอาจารย์เพื่อแก้ไขข้อสงสัยอยู่ตลอดเวลาที่มีโอกาส
และอาจารย์จะตอบคำถามให้อีกครั้งอย่างชัดเจน
6.
ได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะกำลังเรียนอยู่เอกภาษาอังกฤษ
ชั้นปีที่ 4 อยู่พอดี รู้จักศัพท์ใหม่ๆ อยู่เสมอๆ
อุปสรรค
(T:
Threats)
1.
สมองช้ากว่าคนอื่น กว่าจะเข้าใจบทเรียนต้องใช้เวลานาน
2.
ลืมทฤษฎีความรู้ภาษาอังกฤษบางตัว
3.
มีกิจกรรมระหว่างเรียนเยอะเกินไป ทำให้ไม่มีเวลาทบทวนบทเรียน
การเรียนจึงไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควรจะเป็น
4.
ทฤษฎีบางอย่าง ไม่สามารถนำไปใช้ได้ เพราะไม่เข้าใจ
5.
ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล
มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ตอบ
การใช้สื่อประกอบการสอน
- สื่อการสอนเน้นรูปแบบ ให้นักศึกษาอ่าน
- มีใช้ laptop, visualizer,
projector และ pc ในการนำเสนอข้อมูล
- มีการใช้ Blogger
ประกอบการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
- ใช้ของจริงเป็นสื่อในการเรียนการสอน
วิธีการสอน คือ Student
Center
-
เน้นการสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นความสนใจของนักศึกษาเป็นหลัก
- นักศึกษามีโอกาสนำเสนอผลงานของตนเองผ่าน
Blogger
และงานกลุ่มหน้าชั้นเรียน
ทำให้นักศึกษามีความสนใจมากและเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ
- มีการทำงานกลุ่ม
เพื่อให้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน ซึ่งนักศึกษามีความสุขในการเรียน
เนื่องจากได้มีการพูดคุยปรึกษาหารือกันและพร้อมที่จะศึกษาหาข้อมูลและความรู้นอกชั้นเรียน
- ใช้วิธีการปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น
ใช้กรณีศึกษาเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนและให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น
- เน้นการเป็นปัจเจกบุคคล
ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีการนำเสนอผลงานโดยใช้สื่อ (Blogger)
จิตวิทยาการสอน
-
ใช้วิธีการสอนแบบจูงใจนักศึกษาให้สนใจเรียน โดยใช้ Laptop ผ่าน Blogger
- การพูดคุยกับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง
การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
- ใช้เทคนิคซื่อสัตย์ จริงใจกับนักศึกษา
- ให้นักศึกษาเกิดความมีคุณธรรม
จริยธรรม การอยู่ร่วมกันในสังคม
-
การมีคุณธรรมจริยธรรมดูได้จากการทำงานส่งของนักศึกษาใน Blogger
อื่น
ๆ
–
นักศึกษาบางส่วนพูดคุยกันในระหว่างการสอน ทำให้อาจารย์ต้องว่ากล่าวตักเตือน
ทำให้เสียเวลาในการเรียนการสอน
- ภาระงานทั้งของอาจารย์
และของนักศึกษาเยอะ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องเวลาเล็กน้อย
- ใช้วิธีการบรรยายเป็นหลัก
นายสุขสันต์ ไชยรักษา รหัส 5681114011
หลักสูตรภาษาอังกฤษ 01 ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น