ให้นักศึกษาดาวน์โหลด เนื้อหาบท 1 ให้อ่านและวิเคราะห์ให้ละเอียด พร้อมตอบคำถามท้ายบทนี้มี 12 ข้อ
ดาวน์โหลด
_________________________________________________________________________________
นายสุขสันต์ ไชยรักษา รหัส 5681114011
หลักสูตรภาษาอังกฤษ 01 คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
แบบฝึกหัด
คำสั่ง
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.
ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ
การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย
สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้
ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว
ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐ จึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น
2.
ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ
ในปัจจุบันถือเป็นสังคมที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้น ย่อมต้องมีกฎเกณฑ์คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล
เพื่อความยุติธรรม หากขาดกฎหมายที่เป็นข้อบังคับอาจทำให้สังคมเกิดความขัดแย้ง
มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ ขาดเหตุผล มีการแก่งแย่ง
การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ไม่สามารถควบคุมสังคมได้อย่างแน่นอน
3.
ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ค. ที่มาของกฎหมาย ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ
ก. กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ
เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ
จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมายได้ 3
ประการ คือ (ชิรวัฒน์ นิจเนตร, 2542, 2-3; สกล สัมพันธ์กลอน, 2545,1;
พิชิต รอดทอง, 2550, 4-5)
ข.1)
เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ
รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภา ตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรี
ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติ ออกคาสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่าง ๆ
ถือว่าเป็นกฎหมาย
ข.2) มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ
อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์
ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย เช่น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.
2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
ข.3) ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค
เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้
ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้ แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้
การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วัน แจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมง ยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี เข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
ข.4) มีสภาพบังคับ
ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น
ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้
และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น
รอลงอาญา ปรับจาคุก กักขัง ริมทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง
ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
หรือค่าเสียหายหรือชาระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย
บังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค. ที่มาของกฎหมาย มีตำราบางแห่งใช้ว่าบ่อเกิดของกฎหมาย
หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบที่กฎหมายแสดงออกมา สำหรับที่มาของกฎหมายในแต่ละประเทศมีที่มาแตกต่างกัน
ส่วนของประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้ (ศรีราชา เจริญพานิช,
2525; คมชัย สุวรรณดีและคณะ, 2545; สกล สัมพันธ์กลอน, 2545;
สายหยุด แสงอุทัย, 2552)
ค.1) บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึงกฎหมายดังกล่าว ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
ค.2) จารีตประเพณี
เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
เช่น การชกมวยเป็นกีฬา หากชนตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต
ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้
ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้
ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา
ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
ค.3) ศาสนา
เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์
ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทำร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
ค.4) คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา
ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนาไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง
ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้
จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
ค.5) ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น
สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์
อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
เช่น กฎหมายลักษณะอาญาประกาศใช้ใหม่ ๆ บัญญัติว่า
“การถืออาวุธในถนนหลวงไม่มีความผิดถ้าไม่มีกระสุน”
ต่อมาพระบิดากฎหมายได้ทรงเขียนอธิบายเหตุผลว่า
“การถืออาวุธในถนนหลวงควรมีข้อห้ามหรือเป็นความผิด” จึงได้แก้ไขกฎหมาย ดังกล่าว
ง. ประเภทของกฎหมาย ได้มีนักวิชาการแบ่งประเภทของกฎหมายไว้หลากหลาย
ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการแบ่งของแต่ละท่าน
ซึ่งการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆ ไปดังนี้
1. กฎหมายภายใน มีดังนี้
ง.1) กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ง.1.1) กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ
พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือ
ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ
ง.1.2) กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี
หลักกฎหมายทั่วไป
ง.2) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
ง.2.1) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา
เช่น การประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
ง.2.2) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ
กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น
โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย
หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
อนึ่งสำหรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้
เช่น กฎหมายที่ดินพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
และพระราชบัญญัติการล้มละลาย อีกทั้งยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีก
ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ง.3) กฎหมายสารบัญญัติ
และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
ง.3.1) กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด
หรือเป็นสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนซึ่งจะก่อให้เกิดผล
มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด การกระทำผิด
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด
และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
เช่นตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
ง.3.2) กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
เช่นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญา
การร้องทุกข์ การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน
การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทำผิด
สำหรับคดีแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ เป็นวิธีการดำเนินคดีเริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้เป็นไปคำพิพากษา
ยังมีกฎหมายบางฉบับมีทั้งที่เป็นสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติทำให้ยากที่จะแบ่งว่าเป็นประเภทใด
เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดีล้มละลายรวมอยู่ด้วย
การที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่าสาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน
ง.4) กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
ง.4.1) กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ
กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ
และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน
ง.4.2)
กฎหมายอาญา เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม รัฐต้องลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิด สำหรับวิธีและขั้นตอนที่จะเอาคนมาลงโทษทางอาญา
บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา และพระบัญญัติอื่น ๆ
เป็นกฎหมายที่ควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม
ง.4.3) กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด
เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทำนิติกรรมสัญญา
มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกพัน
โดยการทำสัญญา ปฏิบัติตามกฎหมายครบทุกประการ
ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้
2. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
ง.1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ 1)
ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 2)
ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
4) เป็นเอกราช 5) มีอธิปไตย เช่น
กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
กฎหมายที่เป็นจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น
หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต เอกสิทธิในทางการทูต
ง.2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น ๆ
ง.3)
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทาผิดนอกประเทศนั้นได้
เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
4.
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย
จงอธิบาย
ตอบ
ทุกประเทศต้องมีกฎหมาย เพราะกฎหมายเป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ
การกำหนดการอยู่ร่วมกันในสังคม การกระทำที่ถูกต้อง มีเหตุผลที่ถูกที่ควร ที่แต่ละประเทศร่วมกันกำหนดออกมาและต้องปฏิบัติตาม
ซึ่งในแต่ละประเทศมีกฎหมายที่แตกต่างกันออกไปอีก
5.
สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
การดำเนินการลงโทษหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อให้เกิดความเข็ดหลาบหรือหลาบจำ
ไม่กล้ากระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอีก และรวมไปถึงการบังคับให้กระทำการงดเว้นกระทำการหรือบังคับให้ส่งมอบทรัพย์สินด้วย
6.
สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง
มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ
การดำเนินการลงโทษหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อให้เกิดความเข็ดหลาบหรือหลาบจำ
ไม่กล้ากระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอีก และรวมไปถึงการบังคับให้กระทำการงดเว้นกระทำการหรือบังคับให้ส่งมอบทรัพย์สินด้วย
7.
ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
ระบบของกฎหมายบางตาราใช้ว่า สกุลกฎหมาย ที่ใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้พอที่จะ
แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้ (นพนิธิ สุริยะ,
2525, 51-57; สมคิด บางโม,
2546, 15-16)
1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil
Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร
ถือกาเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus
Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน
ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย
แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ
จะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า
กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส
สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
2.
ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา
ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์
เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา
ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้
จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ
8.
ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท
แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ
นักวิชาการแบ่งประเภทของกฎหมายไว้หลากหลาย
ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการแบ่งของแต่ละท่าน การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน
หากเราจะพิจาณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ
แบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง ได้แก่
- แบ่งโดยแหล่งกำเนิด
อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
กฎหมายภายใน
เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
- แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก
เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
- แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา
และกฎหมายแพ่ง
- แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น
กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
- แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์: กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก
เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์
เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง
ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง
และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
(สมคิด บางโม, 2548, 16-17 ; ภูมิชัย
สุวรรณดีและคณะ, 2543, 27-31 ; สกล สัมพันธ์กลอน,
2546, 4-5 ; มานิตย์ จุมปา, 2542, 119 ; ศรีราชา
เจริญพานิช, 2548, 118-119) ซึ่งการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย
ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆ ไปดังนี้
1. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1) กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1)
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือ ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ
เช่น เทศบัญญัติ
1.2)
กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี
หลักกฎหมายทั่วไป
2) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ
หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
2.2)
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้
การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
อนึ่งสำหรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้
เช่น กฎหมายที่ดินพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
และพระราชบัญญัติการล้มละลาย อีกทั้งยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีก
ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
3) กฎหมายสารบัญญัติ
และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1) กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด
หรือเป็นสิทธิ
หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนซึ่งจะก่อให้เกิดผล
มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด การกระทำผิด
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด
และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
เช่นตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2) กฎหมายวิธีสบัญญัติ
กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
เช่นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญา
การร้องทุกข์ การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน
การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทำผิด
สำหรับคดีแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ เป็นวิธีการดำเนินคดีเริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้เป็นไปคำพิพากษา
ยังมีกฎหมายบางฉบับมีทั้งที่เป็นสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติทำให้ยากที่จะแบ่งว่าเป็นประเภทใด
เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดีล้มละลายรวมอยู่ด้วย
การที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่าสาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน
4) กฎหมายมหาชน
และกฎหมายเอกชน
4.1)
กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ
กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ
และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน
4.2)
กฎหมายอาญา เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม รัฐต้องลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิด สำหรับวิธีและขั้นตอนที่จะเอาคนมาลงโทษทางอาญา
บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา และพระบัญญัติอื่น ๆ
เป็นกฎหมายที่ควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม
4.3)
กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด
เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทำนิติกรรมสัญญา
มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกพัน
โดยการทำสัญญา ปฏิบัติตามกฎหมายครบทุกประการ
ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้
2. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
1) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ 1)
ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 2)
ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
4) เป็นเอกราช 5) มีอธิปไตย เช่น
กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
กฎหมายที่เป็นจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น
หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต เอกสิทธิในทางการทูต
2) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น ๆ
3)
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทาผิดนอกประเทศนั้นได้
เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
9.
ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ
ศักดิ์ของกฎหมาย ได้มีนักวิชาการ (ดิเรก ควรสมาคม, 2547, 76; ศรีราชา เจริญพานิช, 2548, 130) ได้กล่าวว่าคำว่า
“ศักดิ์ของกฎหมาย” พอที่จะสรุปได้ว่า “เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอำศัยอานาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน”
จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร
ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลาดับที่ต่ำกว่า
จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย
โดยใช้เหตุผลที่ว่า (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น
พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน (2) การให้รัฐสภา
เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย
(Hierarchy
of laws) พอที่จะสรุปได้ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน
หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้
กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ
ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ
ตอบสนองและสอดคล้องนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา
ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา ได้แก่ พระราชบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ
หากเกี่ยวพันกันหลายเรื่อง ออกในรูปประมวลกฎหมายก็ได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นต้น
สาหรับประมวลกฎหมายเหล่านี้เมื่อร่างเสร็จจะต้องมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนั้น
ๆ อีกครั้งหนึ่ง
3. พระราชกำหนด
เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ
กรณีเร่งด่วนหรือภาวะฉุกเฉินในการรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง
หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศ เมื่อตราแล้วจะต้องนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น
(2 หรือ 3 วัน) ถ้าสภาอนุมัติพระราชกำหนดก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเสมือนพระราชบัญญัติ
ถ้าไม่อนุมัติมีอันตกไปไม่มีผล
4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโอการได้
แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ให้พระราชอำนาจไว้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชกำหนด
ใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
และการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาอาจขัดข้องหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
5. พระราชกฤษฎีกา
เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคาแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย
และ พระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
และประกาศพระบรมราชโองการ และจะขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้
ยังมีพระราชกฤษฎีกาบางประเภทที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เช่น
พระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภา มีความสำคัญมากกว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก
เพื่อให้การดาเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้น ๆ
เป็นการออกกฎกระทรวงโดยฝ่ายบริหาร เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา
ต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าสำคัญรองลงมา ก็จะออกเป็นกฎกระทรวง
เป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บท นอกจากกฎกระทรวง หากจะกำหนดกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติ
จะออกระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศ เพื่อความสะดวกในการบริหารงานได้อีกด้วย
7. ข้อบัญญัติจังหวัด
เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแล
ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นที่องค์กรนั้นบริหารรับผิดชอบ จึงให้อำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอานาจออกข้อบัญญัติจังหวัดเพื่อจัดเรียบสังคมดูแลทุกข์สุขของประชาชน
มีผลใช้บังคับเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนั้น ๆ จะบังคับนอกพื้นที่จังหวัดมิได้
8. เทศบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3
ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร
ซึ่งอาศัยความหนาแน่นของประชากรตามที่พระราชบัญญัติกำหนด
9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
เป็นกฎหมายที่มีลาดับที่ต่ำที่สุด ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ที่จะปกครองดูแล และให้บริการสาธารณะแก่ตำบล
เพื่อใช้ในการบริหารงานราชการในท้องถิ่นที่ของตำบลนั้น
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายพิเศษ เช่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งประชาชนทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายในระดับต่าง ๆ ดังกล่าวทั้งสิ้น รัฐจะต้องสร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชน ทำอย่างไรที่จะต้องให้ประชาชนได้รู้กฎหมายเพื่อป้องกันสิทธิ และรู้จักหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นพลเมืองที่ดี แต่อย่างไรก็ตามยังมีกฎข้อบังคับอีกรูปแบบหนึ่งในทางวิชาการและในทางปฏิบัติที่ถือว่าเป็น “กฎหมาย” คือ “ประกาศของคณะปฏิวัติ” (บางครั้งเรียกว่า คาสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน) ออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติและไม่มีการลงพระปรมาภิไธย ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญย่อมมีศักดิ์เท่ากับรัฐธรรมนูญ ประกาศของคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ให้มีศักดิ์ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกที่แก้ไขดังกล่าว จึงสรุปเป็นแผนผังดังนี้
10.
เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า
และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า
รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ
ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า
รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ
การที่รัฐบาลใช้กำลังควบคุมตัวช่างภาพสื่อมวลชนขณะปฏิบัติหน้าที่
ถือเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่
เพื่อนำความจริงมาเสนอต่อสาธารณชนอย่างครบถ้วนรอบด้าน จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจเคารพการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนด้วย คิดว่ารัฐบาลผิดแต่หากมองอีกนัยหนึ่ง
คิดว่ารัฐบาลน่าจะไม่อยากให้เรื่องบานปลาย เลยต้องการจะดับไฟแต่ต้นลม
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาใหญ่ที่ตามมาภายหลัง
11.
ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร
จงอธิบาย
ตอบ
กฎหมายการศึกษา เป็นบทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้น
ที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้
และถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
(พิชิต รอดทอง, 2550, 13) และกฎหมายการศึกษา
ได้กำหนดเพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตาม
ไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ
เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ (สุคนธ์ ต้นญัญา, 2549, 6)
จากประเด็นที่ได้กล่าวมาแล้วพอที่จะสรุปได้ว่า
กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐทีเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจ
ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้
ความสำคัญของกฎหมายการศึกษา
การจัดการศึกษามีการปฏิรูปให้สอดคล้องกับภาวะบ้านเมืองปัจจุบัน จึงได้นำบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
ได้กำหนดให้ มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
และทำให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน
ดังนั้นครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
12.
ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้
ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู
จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ
หากเราเรื่องไม่รู้กฎหมายการศึกษา ก็เป็นความจริงที่เห็นได้โดยทั่วไป และเป็นเรื่องปกติในสังคมของเราที่สามารถบอกได้อย่างไม่อาย
โดยปกติประชาชนทั่วไปที่ในแต่ละวันต้องทำมาหาเลี้ยงอาชีพแล้ว กฎหมายการศึกษาไม่มีความจำเป็นอะไรเลย
การไม่รู้กฎหมายการศึกษาไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด
แต่ทำความผิดแล้วมาแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้ตัวเองพ้นจากความผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายนั้น
ก็ไม่สามารถอ้างได้เช่นกัน เรื่องของการไม่รู้กฎหมายนี้ กฎหมายบอกว่า
“บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้” ดังนั้น
เมื่อได้ทำความผิดแล้ว ก็ต้องยอมรับผิดรับโทษ จะมาอ้างไม่รู้กฎหมาย ตรงนี้ก็อาจจะเสียเวลาเปล่าๆ
นายสุขสันต์ ไชยรักษา รหัส 5681114011
หลักสูตรภาษาอังกฤษ 01 คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น